ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

(ฉบับเต็ม) พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ 2553


พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
พ.ศ. ๒๕๕๓
                  

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

มาตรา ๒[๑]  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓  ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๔
(๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๑
(๕) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙ เรื่อง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔
(๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๘) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๕
(๙) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๕ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙
(๑๐) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส พ.ศ. ๒๕๔๓
(๑๑) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๑๒) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๑๓) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการฝ่ายอัยการหมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด
ก.อ.หมายความว่า คณะกรรมการอัยการ

มาตรา ๕  ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ลักษณะ ๑
บททั่วไป
                  

มาตรา ๖  ข้าราชการฝ่ายอัยการ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
(๑) ข้าราชการอัยการ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ
(๒) ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดนอกจาก (๑)

มาตรา ๗  ให้นำระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการมาใช้กับข้าราชการอัยการโดยอนุโลม
อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกาเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้  ทั้งนี้ ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราหากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน

มาตรา ๘  การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การรับเงินเดือนการรับเงินประจำตำแหน่ง การปรับขั้นต่ำขั้นสูงของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม  ทั้งนี้ คำว่า ก.พ.และ อ.ก.พ. กระทรวงให้หมายถึง ก.อ.และคำว่า กระทรวงให้หมายถึง สำนักงานอัยการสูงสุด
นอกจากตำแหน่งที่กำหนดขึ้นตามวรรคหนึ่ง ก.อ. อาจออกประกาศกำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชการธุรการที่แตกต่างไปจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนก็ได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าใดและจะเทียบกับตำแหน่งใดตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดในประกาศนั้นด้วย

มาตรา ๙  ในกรณีคณะรัฐมนตรีกำหนดเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการทั่วไป ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในหลักเกณฑ์เดียวกันด้วย

มาตรา ๑๐  ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอบคัดเลือก หรือทดสอบความรู้หรือคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยได้ตามพระราชบัญญัตินี้ หากประสงค์จะโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเพื่อนับเวลาราชการหรือเวลาทำงานของตนในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นเวลาราชการของข้าราชการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ก็ให้กระทำได้โดยสำนักงานอัยการสูงสุดทำความตกลงกับเจ้าสังกัด

มาตรา ๑๑  บำเหน็จบำนาญของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายถึงทุพพลภาพเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนต้องออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพตามพระราชบัญญัตินี้ ก.อ. จะพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้

มาตรา ๑๒  เครื่องแบบ และการแต่งกายของข้าราชการฝ่ายอัยการ การกำหนดให้มีตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดเพื่อใช้ในการบริหารราชการสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำและใช้ตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายนั้น ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๑๓  วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี และวันหยุดประจำปีของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน เว้นแต่ ก.อ. จะกำหนดเป็นอย่างอื่น
การลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๑๔  ประมวลจริยธรรมของข้าราชการฝ่ายอัยการให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะต้องจัดให้มีประมวลจรรยาบรรณสำหรับข้าราชการฝ่ายอัยการ
ประมวลจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง และประมวลจรรยาบรรณตามวรรคสอง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๑๕  ข้าราชการฝ่ายอัยการมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามข้อเสนอแนะของ ก.อ.

มาตรา ๑๖  การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา การให้ไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

มาตรา ๑๗  ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนด ให้ ก.อ. ทำเป็นระเบียบ ข้อกำหนด หรือประกาศ ตามที่เห็นสมควร
ระเบียบ ข้อกำหนด และประกาศ ของ ก.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ลักษณะ ๒
คณะกรรมการอัยการ
                  

มาตรา ๑๘[๒]  ให้มีคณะกรรมการอัยการคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “..” ประกอบด้วย
(๑) ประธาน ก.ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า  ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อนได้รับเลือก
(๒) อัยการสูงสุดเป็นรองประธาน ก..
(๓) รองอัยการสูงสุดตามลาดับอาวุโสจำนวนห้าคนเป็นกรรมการอัยการ
(๔) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจาก
(ก) ข้าราชการอัยการชั้น ๕ ขึ้นไป ซึ่งมิได้เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งอยู่แล้วจำนวนสี่คน
(ข) ผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วจำนวนสองคน
(๕) กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน ซึ่งข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากผู้ซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการอัยการมาก่อน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนาองค์กร หรือด้านการบริหารจัดการ
ให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นเลขานุการ ก..

มาตรา ๑๙[๓]  ประธาน ก.และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ () (และ (ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕)
(๒) เป็นสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง
(๓) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือกรรมการในคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองหรือศาลอื่น
(๔) เป็นข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลทหาร หรือทนายความ
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๖) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
(๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ
(๗) ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอื่นใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ
(๘) เคยเป็นประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๒๓ วรรคสาม ซึ่งไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่ง

มาตรา ๒๐[๔]  ในการเลือกประธาน ก.ให้ ก.ประชุมพิจารณาจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มาสมัครหรือที่ ก.เห็นสมควรเป็นประธาน ก.ไม่น้อยกว่าห้ารายชื่อ เพื่อให้ข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากรายชื่อดังกล่าว
การเลือกกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (ให้ ก.ประชุมพิจารณาจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มาสมัครหรือที่ ก.เห็นสมควรเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสามเท่าของกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (เพื่อให้ข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเป็นผู้เลือกจากรายชื่อดังกล่าว

มาตรา ๒๑[๕]  ให้อัยการสูงสุดดำเนินการให้มีการเลือกประธาน ก.และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิภายในหกสิบวันก่อนวันครบกำหนดวาระหรือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องเลือกและการออกเสียงลงคะแนนต้องกระทำโดยวิธีลับ  ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.กำหนด
เมื่อผลการเลือกประธาน ก.ตามที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อเป็นประการใด ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
กรณีอัยการสูงสุดประกาศรายชื่อกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับการเลือกประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิต่อศาล การฟ้องคดีดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้ระงับหรือชะลอการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการเลือกที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เว้นแต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในการนี้ หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ อันเป็นผลให้บุคคลที่ได้รับการเลือกขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการเลือกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเช่นว่านี้ ไม่มีผลกระทบต่อการที่บุคคลนั้นได้กระทำไว้แล้วก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าว
ในการเลือกประธาน ก.และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ห้ามผู้ใดกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงเพื่อให้ข้าราชการอัยการลงคะแนนหรืองดเว้นลงคะแนน  ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.กำหนด

มาตรา ๒๒[๖]  ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสไม่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ.

มาตรา ๒๓[๗]  ประธาน ก.มีวาระการดำรงตำแหน่งสองปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งสองปีนับแต่วันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ถ้าตำแหน่งประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งว่างลงก่อนครบวาระให้อัยการสูงสุดสั่งให้ดำเนินการเลือก เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่งของประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการเลือกก็ได้
ประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกตามวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ซึ่งตนแทน และหากมีวาระเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรือวันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือก แล้วแต่กรณี ไม่ให้นับเป็นวาระการดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๒๔[๘]  ในกรณีที่ประธาน ก.พ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่กรณีครบกำหนดวาระตามวรรคสาม ให้รองประธาน ก.ทำหน้าที่ประธาน ก..
ในกรณีที่ประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดวาระและยังไม่มีกรรมการอัยการแทนตำแหน่งที่ว่างลง ให้ ก.ประกอบด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่และให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ถ้าเหลือเพียงกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ให้กรรมการอัยการโดยตำแหน่งเป็นองค์ประชุมและให้กระทำได้แต่เฉพาะเท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน
ในกรณีที่ประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิครบกำหนดวาระ ให้ประธาน ก..หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อนจนกว่าประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่

มาตรา ๒๕[๙]  ประธาน ก.และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ครบกำหนดวาระ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) เป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่ง ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส หรือพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ () ()
(๕) กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการอัยการ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ () ()
(๖) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ (หรือมาตรา ๑๙ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ () (หรือ ()
(มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ขในกรณีที่เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ () ()
(ถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๕/๑ ในกรณีที่เป็นประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (หรือ ()
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดพ้นจากตำแหน่งประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ ให้ ก.มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด

ถอดถอน ปธ.กอ. หรือ กอ.ผู้ทรงฯ
มาตรา ๒๕/๑[๑๐]  ประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (หรือ () ผู้ใดมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ประธาน ก.หรือกรรมการอัยการส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับคุณธรรม และจริยธรรม หรือกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคห้า ข้าราชการอัยการไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยเข้าชื่อขอให้ถอดถอนประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (หรือ (ผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้
เมื่อมีการเข้าชื่อถอดถอนตามวรรคหนึ่ง ให้อัยการสูงสุดจัดให้มีการลงมติภายใน 30 วัน และในระหว่างนี้ประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิผู้นั้นจะทำหน้าที่ประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมิได้
มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของข้าราชการอัยการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย และการออกเสียงลงคะแนนต้องกระทำโดยวิธีลับ
ผู้ใดถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่มีมติให้ถอดถอนตามวรรคสาม
มติของข้าราชการอัยการตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยเหตุเดียวกันอีกไม่ได้
การเข้าชื่อ การลงมติ และการถอดถอน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.กำหนด

องค์ประชุม กอ.
มาตรา ๒๖  การประชุม ก.อ. ต้องมี กรรมการอัยการ มาประชุมไม่น้อยกว่า๘คนจึงเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุมถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
หากกรรมการอัยการโดยตำแหน่งว่างลง หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้รักษาการในตำแหน่งตามกฎหมาย ทำหน้าที่กรรมการอัยการแทนในระหว่างนั้น

ออกจากที่ประชุม แต่นับเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๒๗  ในการประชุมของ ก.อ. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการอัยการผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิอยู่ในที่ประชุม แต่เพื่อประโยชน์ในการนับองค์ประชุม ถ้าผู้นั้นได้เข้าประชุมแล้วและต้องออกจากที่ประชุม ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมด้วย
การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบว่าด้วยการประชุมและการลงมติ
ในกรณีที่การประชุมของ ก.เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคสองหรือมาตรา ๘๒ กับผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นกรรมการอัยการโดยตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (หรือ (ด้วย ห้ามมิให้อัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดผู้นั้นเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่[๑๑]
ในกรณีที่การประชุมของ ก.เป็นการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง หรือการดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษทางวินัยกับอธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการซึ่งเป็นเลขานุการ ก.ตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง หรือเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ () (ห้ามมิให้อธิบดีอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการเข้าร่วมพิจารณาเรื่องดังกล่าว และให้ถือว่า ก.ประกอบไปด้วยกรรมการอัยการเท่าที่เหลืออยู่[๑๒]

มาตรา ๒๘  หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมนาคุณ เบี้ยประชุม หรือค่าตอบแทนของ ก.อ. รวมทั้งอนุกรรมการ บุคคล และคณะบุคคลที่ ก.อ. แต่งตั้ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๒๙  ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘ ในกรณีที่ ก.อ. มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเรื่องต่อ ก.อ. แต่กรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดจะเสนอเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนดก็ได้

มาตรา ๓๐  นอกจากอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ให้ ก.อ. มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๒) เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดระบบ การแก้ไข และการรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว และเงินค่าตอบแทนพิเศษอื่นแก่ข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลำดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ
(๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทนและการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๘) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการฝ่ายอัยการ และการสั่งให้ข้าราชการฝ่ายอัยการออกจากราชการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(๙) ออกระเบียบเกี่ยวกับการสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การรับเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือน การรักษาจริยธรรม การออกจากราชการ การคุ้มครองระบบคุณธรรม และการจัดระเบียบข้าราชการธุรการ
(๑๐) แต่งตั้งอนุกรรมการ บุคคล หรือคณะบุคคลเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ก.อ. มอบหมาย
(๑๑) ออกระเบียบหรือประกาศเพื่อกำหนดการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการ

มาตรา ๓๑  ในการพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการธุรการ ให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีข้าราชการธุรการไม่น้อยกว่าสองคนร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย
จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

ลักษณะ ๓
ข้าราชการอัยการ
                  

การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน
                  

มาตรา ๓๒  ตำแหน่งข้าราชการอัยการ มี ๘ ชั้น ดังนี้
(๑) อัยการสูงสุดเป็นข้าราชการอัยการชั้น ๘
(๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๗
(๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาคอัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๖
(๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๕
(๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๔
(๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๓
(๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๒
(๘) อัยการผู้ช่วย เป็นข้าราชการอัยการชั้น ๑

มาตรา ๓๓  นอกจากตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๓๒ ให้มีตำแหน่งอัยการอาวุโสด้วย

มาตรา ๓๔  ข้าราชการอัยการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
(๑) อัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๘
(๒) รองอัยการสูงสุด และผู้ตรวจการอัยการ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๗
(๓) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๖ - ๗ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖
(๔) อัยการผู้เชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๕ - ๖ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕
(๕) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๔ - ๕ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๔
(๖) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๓ - ๔ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๓
(๗) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๒ - ๓ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๒
(๘)[๑๓] อัยการผู้ช่วย ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งชั้น ๑ โดยให้เริ่มรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๑
(๙) อัยการอาวุโส ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่ากับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเดิมที่ได้รับอยู่ก่อนดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดของชั้นอยู่ก่อนแล้ว จึงให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนเดิมหนึ่งขั้น และให้ปรับเงินเดือนขึ้นปีละหนึ่งขั้นแต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนของชั้น ๘ และเมื่อปรับเงินเดือนดังกล่าวสูงกว่าขั้นสูงสุดของชั้นเดิมแล้วให้ปรับเงินประจำตำแหน่งให้เท่ากับเงินประจำตำแหน่งของชั้นถัดไป
ให้ข้าราชการอัยการได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน
ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น

มาตรา ๓๕[๑๔]  การบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่งโดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษ ตามความในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ โดยให้ผู้ได้รับบรรจุได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในขั้นต่ำของชั้น ๑

มาตรา ๓๖  อัยการผู้ช่วยที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยจะต้องได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและผลของการอบรมเป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย
อัยการผู้ช่วยซึ่งได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดมาแล้วตามวรรคหนึ่ง และผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และความประพฤติเหมาะสมที่จะเป็นอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย ก็ให้ได้รับการอบรมจากสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไปอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วหากผลของการอบรมยังไม่เป็นที่พอใจของ ก.อ. ให้อัยการสูงสุดสั่งให้ออกจากราชการ
ในระหว่างเวลาปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกองหรืออัยการจังหวัดผู้ช่วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการได้

มาตรา ๓๗  ก่อนเข้ารับหน้าที่ อัยการประจำกองและอัยการจังหวัดผู้ช่วยต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้
ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมโดยปราศจากอคติทั้งปวงเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ

มาตรา ๓๘  การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยตำแหน่งอัยการอาวุโส ตำแหน่งรองอัยการสูงสุด และตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้นเทียบกับงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการที่จะได้รับแต่งตั้งนั้น ๆ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคหนึ่งให้ประธาน ก.อ. หรือกรรมการอัยการคนหนึ่งคนใด เสนอชื่อบุคคลอื่นเพื่อให้ ก.อ. ให้ความเห็นชอบได้และในกรณีที่มีการเสนอบุคคลหลายคนให้ดำรงตำแหน่งเดียวกัน ให้ ก.อ. พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเรียงเป็นรายบุคคลตามลำดับอาวุโสเพื่อให้ความเห็นชอบ
ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งใด ถ้าเป็นกรรมการอัยการด้วย ให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อออกจากที่ประชุมในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ แต่ให้นับเป็นองค์ประชุมด้วย

มาตรา ๓๙[๑๕]  ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปในปีงบประมาณใดอาจขอไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสได้ หากเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปีในปีงบประมาณก่อนปีงบประมาณที่จะขอไปดำรงตำแหน่ง โดยให้แจ้งเป็นหนังสือต่ออัยการสูงสุดไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนเริ่มปีงบประมาณที่จะดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส
ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่เมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น และให้ไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจนกว่าจะพ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖

มาตรา ๓๙/๑[๑๖]  ข้าราชการอัยการซึ่งจะมีอายุครบหกสิบห้าปีในปีงบประมาณใด ให้ ก.อ. จัดให้มีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอัยการในปีงบประมาณนั้น แล้วเสนอผลการประเมินให้ ก.อ. พิจารณาประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๔๐  การแต่งตั้งข้าราชการอัยการไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสให้อัยการสูงสุดเสนอรายชื่อผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งต่อ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป
ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือรักษาการในตำแหน่งตามมาตรา ๓๒ อีกไม่ได้ รวมทั้งไม่อาจเป็นผู้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทน[๑๗]

มาตรา ๔๑  การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ให้ประธาน ก.อ. เสนอ ก.อ. เพื่อให้ความเห็นชอบ เมื่อ ก.อ. ให้ความเห็นชอบแล้วจึงนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๒ วรรคสองและวรรคสามและมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๒  การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ
ในการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดเพื่อขอความเห็นชอบจาก ก.อ. ให้ประธาน ก.อ. เป็นผู้เสนอ โดยคำนึงถึงอาวุโส ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ ประวัติการปฏิบัติราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลนั้น
ในกรณีที่ ก.อ. ไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลตามที่ประธาน ก.อ. เสนอตามวรรคสอง ให้ประธาน ก.อ. เสนอชื่อบุคคลอื่นโดยเรียงตามลำดับอาวุโส และให้ ก.อ. พิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามวรรคสอง
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๔๓  ให้ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้ โดยความเห็นชอบของ ก.อ. ภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้
(๑) อธิบดีอัยการ อธิบดีอัยการภาค รองอธิบดีอัยการ รองอธิบดีอัยการภาค อัยการพิเศษฝ่ายและอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๖ มาครบสี่ปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๗
(๒) อัยการผู้เชี่ยวชาญ เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้น ๕ มาครบเจ็ดปีให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๖
(๓) อัยการจังหวัด และอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๕
(๔) อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอัยการจังหวัด เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๔ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๔ มาครบสามปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๔ ได้
(๕) อัยการประจำกอง และอัยการจังหวัดผู้ช่วย เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๒ มาครบหนึ่งปี ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นเงินเดือนชั้น ๓ และเมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นเงินเดือนชั้น ๓ มาครบห้าปีแล้ว ให้ได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือนชั้น ๓ ได้
ให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการในชั้นเงินเดือนชั้น ๑ ชั้นเงินเดือนชั้น ๒ และชั้นเงินเดือนชั้น ๓ สูงขึ้นหนึ่งขั้นทุกปี โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จนกว่าจะได้รับเงินเดือนในขั้นสูงสุดของชั้นเงินเดือน เว้นแต่ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกลงโทษทางวินัยในปีใด ก.อ. จะมีมติไม่ให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นสำหรับปีนั้นก็ได้
ในการปรับอัตราเงินเดือนตามวรรคสอง ถ้า ก.อ. พิจารณาเห็นว่าข้าราชการอัยการผู้ใดมีผลงานดีเด่นเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน การรักษาวินัย ความประพฤติ คุณธรรม จริยธรรม แล้ว ก.อ. จะให้ปรับอัตราเงินเดือนให้ข้าราชการอัยการผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเกินหนึ่งขั้นก็ได้
ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับกับข้าราชการอัยการที่ลาไปศึกษาต่อหรือลาเพื่อการอื่นใด  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๔๔  การโอนข้าราชการอัยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการโดยให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าในขณะที่โอน ให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและก.อ. เห็นชอบ
การโอนข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายอื่นให้อัยการสูงสุดสั่งได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้นั้นยินยอมและ ก.อ. เห็นชอบ

มาตรา ๔๕  การโอนข้าราชการธุรการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการอัยการอาจทำได้เมื่อ ก.อ เห็นชอบ แต่ข้าราชการธุรการผู้นั้นอย่างน้อยต้องเคยเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยมาแล้ว

มาตรา ๔๖  ภายใต้บังคับมาตรา ๔๗ ข้าราชการอัยการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปโดยมิได้มีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือไปรับราชการ หรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อประสงค์จะกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการ ถ้าไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ โดยบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งปรับให้เข้ากับอัตราที่เทียบได้ไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการ
ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด

มาตรา ๔๗  ข้าราชการอัยการซึ่งไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หากได้รับการบรรจุกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการอัยการตามมาตรา ๔๖ และ ก.อ. เห็นว่าการไปรับราชการหรือไปปฏิบัติงานในกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นเป็นประโยชน์ต่อราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ก.อ. จะปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการนั้นให้เป็นกรณีพิเศษก็ได้

มาตรา ๔๘  ข้าราชการอัยการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหาร โดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการอัยการ โดยรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ในกรณีเช่นว่านี้ให้อัยการสูงสุดสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.อ. เห็นชอบ แต่ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหารให้บรรจุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด

การสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษ
                  

มาตรา ๔๙  ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
(๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๔) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
(๕) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต
(๖) เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. กำหนด และ ก.อ. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๒) เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๓) เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
(๔) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๕) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด
ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบคัดเลือก สมัครทดสอบความรู้ และสมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ

มาตรา ๕๐  ผู้สมัครสอบคัดเลือกตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นนิติศาสตรบัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
(๒) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
(๓) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญหรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด  ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
การประกอบวิชาชีพทางกฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครสอบคัดเลือกให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๕๑  ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพ ดังต่อไปนี้
(๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
(๒) มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือสอบไล่ได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรอง
(ข) สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศโดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(ค) สอบไล่ได้นิติศาสตรบัณฑิต และสอบไล่ได้ชั้นเกียรตินิยมตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(ง) สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.อ. รับรองและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(จ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตชั้นเกียรตินิยมและได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรองเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
(ฉ) เป็นนิติศาสตรบัณฑิตและเป็นข้าราชการฝ่ายอัยการที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี และอัยการสูงสุดรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ความสามารถดีและมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการอัยการได้
(ช) สอบไล่ได้ปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนดและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ (๓) หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
(ซ) สอบไล่ได้ปริญญาตรีหรือที่ ก.อ. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.อ. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นและเป็นนิติศาสตรบัณฑิต
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ในการทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในแต่ละครั้ง สำนักงานอัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. อาจกำหนดให้รับสมัครเฉพาะผู้มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างตาม (๒) ก็ได้
ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (๒) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ) ด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๕๒  ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษตามมาตรา ๔๙ ต้องมีคุณวุฒิและประสบการณ์ ดังต่อไปนี้
(๑) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
(๒) มีประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นหรือเคยเป็นศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.อ. รับรอง
(ข) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
(ค) เป็นหรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี
(๓) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชาที่ ก.อ. กำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครคัดเลือกพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๕๓  เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษเมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติให้จัดให้มีการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้หรือการคัดเลือกพิเศษ  ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวในแต่ละครั้ง ก.อ. อาจกำหนดจำนวนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุก็ได้
ให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกการทดสอบความรู้และการคัดเลือกพิเศษ ตลอดจนการกำหนดอัตราส่วนการบรรจุระหว่างผู้ที่สอบคัดเลือกได้ ผู้ที่ทดสอบความรู้ได้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษ
เมื่อได้ประกาศผลการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ หรือการคัดเลือกพิเศษแล้วให้บัญชีสอบคัดเลือก ทดสอบความรู้ หรือคัดเลือกพิเศษคราวก่อนเป็นอันยกเลิก

มาตรา ๕๔  ให้ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือกหากได้คะแนนเท่ากันให้จับสลากเพื่อจัดลำดับในระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น
ผู้สอบคัดเลือกคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๕๐ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ. เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ อันไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการตามผลการสอบคัดเลือกนั้น
ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับกับการบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกพิเศษโดยอนุโลม

การพ้นจากตำแหน่ง
                  

มาตรา ๕๕  ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) พ้นจากราชการตามมาตรา ๕๖
(๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก
(๔) โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการธุรการหรือข้าราชการฝ่ายอื่น
(๕) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(๖) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙
(๗) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก
การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย หากเป็นกรณีตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตาม (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี
การพ้นจากตำแหน่งของอัยการสูงสุดตาม (๔) (๖) หรือ (๗) ให้เสนอวุฒิสภาเพื่อให้ความเห็นชอบ

มาตรา ๕๖  ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบเจ็ดสิบปีแล้ว เป็นอันพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการอัยการผู้นั้นมีอายุครบเจ็ดสิบปี

มาตรา ๕๗  ผู้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ หรือขาดคุณวุฒิหรือมิได้ประกอบวิชาชีพหรือไม่มีประสบการณ์ตามมาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๒ แล้วแต่กรณี ตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุ ให้อัยการสูงสุดด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ  แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออก และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

มาตรา ๕๘  ข้าราชการอัยการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเพื่อให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณา เมื่ออัยการสูงสุดสั่งอนุญาตแล้วให้ถือว่าพ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ข้าราชการอัยการขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งหรือรับการเสนอชื่อเพื่อสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเพื่อไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก
นอกจากกรณีตามวรรคสอง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันขอลาออกก็ได้
ในกรณีที่อัยการสูงสุดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อ ก.อ. เพื่อให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณา

มาตรา ๕๙  เมื่ออัยการสูงสุดเห็นสมควรให้ข้าราชการอัยการผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ หรือเหตุรับราชการนานตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ทำได้ด้วยความเห็นชอบของ ก.อ. แต่การให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน ให้ทำได้เฉพาะในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ หมวด ๒ แล้ว ไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่ากระทำผิดที่จะถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก แต่ผู้นั้นมีมลทินหรือมัวหมอง จะให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
(๒) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดบกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่สมควรที่จะให้คงเป็นข้าราชการอัยการต่อไป
(๓) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ถึงเหตุทุพพลภาพ หรือ
(๔) เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ ก. (๑) หรือ ข. (๖)
ในกรณีที่ข้าราชการอัยการซึ่งสมควรออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. พิจารณาดำเนินการ

ลักษณะ ๔
วินัย การดำเนินการทางวินัย และการลงโทษ
                  

หมวด ๑
วินัย
                  

มาตรา ๖๐  ข้าราชการอัยการต้องรักษาวินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนจักต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้

มาตรา ๖๑  ข้าราชการอัยการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

มาตรา ๖๒  ข้าราชการอัยการจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นผู้แทนทางการเมืองอื่นใด กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการอัยการจะเข้าเป็นผู้กระทำการ ร่วมกระทำการหรือสนับสนุนในการโฆษณาหรือชักชวนใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้

มาตรา ๖๒/[๑๘]  ข้าราชการอัยการต้องไม่กระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการหาเสียงตามมาตรา ๒๑ วรรคห้า

มาตรา ๖๓  ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งคดี ห้ามมิให้ขัดขืนหลีกเลี่ยง ถ้าไม่เห็นพ้องด้วยคำสั่งนั้นจะเสนอความเห็นทัดทานเป็นหนังสือก็ได้ แต่ต้องเสนอโดยด่วน และเมื่อได้ทัดทานดังกล่าวแล้วผู้บังคับบัญชามิได้สั่งถอนหรือแก้คำสั่งที่สั่งไป ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามแต่ให้ผู้บังคับบัญชารีบรายงานขึ้นไปยังอัยการสูงสุดตามลำดับ
ในการปฏิบัติราชการ ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต

มาตรา ๖๔  ข้าราชการอัยการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความระมัดระวัง มิให้เสียหายแก่ราชการ และด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม

มาตรา ๖๕  ข้าราชการอัยการต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จ

มาตรา ๖๖  ข้าราชการอัยการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้

มาตรา ๖๗  ข้าราชการอัยการต้อง
(๑) ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด
(๒) ไม่เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครองกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือตำแหน่งอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด
(๔) ไม่เป็นข้าราชการอื่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๕)[๑๙] ไม่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐในทำนองเดียวกัน
(๖)[๒๐] ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือกิจการอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุประสงค์มุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นที่ปรึกษาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน

มาตรา ๖๘  ข้าราชการอัยการต้องไม่ประพฤติตนเป็นคนเสเพล มีหนี้สินรุงรัง เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ เล่นการพนันเป็นอาจิณ กระทำความผิดอาญา หรือกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว หรือกระทำการอื่นใดอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ

มาตรา ๖๙  ข้าราชการอัยการต้องสุภาพเรียบร้อยและห้ามมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใด
ข้าราชการอัยการต้องต้อนรับ ให้ความสะดวก และให้ความสงเคราะห์ต่อประชาชนผู้มาติดต่อในกิจการอันเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๗๐  ข้าราชการอัยการต้องรักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการและต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่ราชการ

มาตรา ๗๑  ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ

มาตรา ๗๒  ข้าราชการอัยการต้องรักษาความลับของทางราชการ

มาตรา ๗๓  ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยแล้วไม่จัดการสอบสวนพิจารณาและดำเนินการตามความในหมวด ๒ และหมวด ๔ แห่งลักษณะนี้หรือไม่จัดการลงโทษตามอำนาจและหน้าที่หรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัย

หมวด ๒
การดำเนินการทางวินัย
                  

มาตรา ๗๔  ภายใต้บังคับมาตรา ๘๒ เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการสอบสวนชั้นต้นโดยมิชักช้า
ผู้บังคับบัญชาระดับใดมีอำนาจดำเนินการสอบสวนชั้นต้นข้าราชการอัยการระดับใดรวมตลอดทั้งวิธีการสอบสวนชั้นต้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สอบสวนชั้นต้นแล้ว เห็นว่า ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๘๘ แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการตามมาตรา ๗๕ หรือมาตรา ๗๙ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเกินอำนาจของตนให้รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปตามลำดับเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี

มาตรา ๗๕  ในกรณีที่ผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานประธาน ก.อ. และให้ ก.อ. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอย่างน้อยสามคนเพื่อทำการสอบสวน
กรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นข้าราชการอัยการ
การรายงานประธาน ก.อ. ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด
ในกรณีที่การสอบสวนชั้นต้นเกิดจากการร้องเรียนของบุคคลใด หากผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลตามที่ร้องเรียน ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องผู้ร้องเรียนนั้นในความผิดทางอาญาหรือทางแพ่งเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องเรียนที่มีมูลนั้นมิได้

มาตรา ๗๖  ในการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ คณะกรรมการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเท่าที่มีอยู่ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และต้องให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วย
ในการแจ้งรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้คณะกรรมการสอบสวนส่งหนังสือร้องเรียนถ้ามี ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา แต่ต้องสรุปสาระสำคัญของหนังสือร้องเรียนให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยมิให้แจ้งข้อมูลใดที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบถึงตัวบุคคลผู้ร้องเรียน
ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็วไม่ช้ากว่าเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้ง ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนไม่ทันภายในกำหนดนั้นก็ให้ขออนุมัติจากผู้แต่งตั้งขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง แต่ละครั้งเป็นเวลาไม่เกินสามสิบวัน และต้องแสดงเหตุที่ต้องขยายเวลาไว้ด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าขยายเวลาแล้วยังสอบสวนไม่เสร็จ ผู้แต่งตั้งจะอนุมัติให้ขยายเวลาต่อไปอีกได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ ก.อ. ทราบแล้ว
หลักเกณฑ์และวิธีการการสอบสวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๗๗  เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อ ก.อ. เพื่อพิจารณาต่อไป และเมื่อ ก.อ. มีมติเป็นประการใด ให้ประธาน ก.อ. มีคำสั่งให้เป็นไปตามมตินั้น

มาตรา ๗๘  ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๗๕ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) เรียกให้หน่วยงานของรัฐชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน

มาตรา ๗๙  ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.อ. กำหนด หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการสอบสวน เมื่อได้สอบสวนชั้นต้นตามมาตรา ๗๔ แล้ว ประธาน ก.อ. โดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะพิจารณาสั่งลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้

มาตรา ๘๐  ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ถ้าอัยการสูงสุดเห็นว่าจะให้อยู่ในหน้าที่ราชการระหว่างสอบสวน หรือพิจารณาจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ อัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. จะสั่งให้พักราชการก็ได้
การให้พักราชการนั้น ให้พักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา หรือตลอดเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด
เมื่อสอบสวนพิจารณาเสร็จแล้ว หรือคดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าปรากฏว่าผู้ถูกสั่งให้พักราชการมิได้กระทำความผิดและไม่มีมลทินหรือมัวหมอง ให้อัยการสูงสุดสั่งให้รับราชการตามเดิม
ให้นำกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการมาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการผู้ถูกสั่งให้พักจากราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า เจ้ากระทรวงให้หมายถึง ก.อ.

มาตรา ๘๑  ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ที่มิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการอัยการไปแล้วโดยมิใช่เพราะเหตุตาย ให้ดำเนินการสอบสวนหรือพิจารณาเพื่อลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นไปตามลักษณะนี้ต่อไปได้แต่ต้องเริ่มดำเนินการภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน  ทั้งนี้ นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าผลการสอบสวนหรือพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ

มาตรา ๘๒  การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับอัยการสูงสุดและรองอัยการสูงสุด ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของ ก.อ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด

หมวด ๓
การรักษาจริยธรรมและจรรยา
                  

มาตรา ๘๓  ข้าราชการอัยการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้ ก.อ. ทราบและให้ ก.อ. นำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้ง

การลงโทษ
                  

มาตรา ๘๔  โทษผิดวินัยมี ๕ สถาน คือ
(๑) ไล่ออก
(๒) ปลดออก
(๓) ให้ออก
(๔) งดการเลื่อนตำแหน่ง หรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน
(๕) ภาคทัณฑ์
ภายใต้บังคับมาตรา ๗๙ การสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อได้ดำเนินการสอบสวนพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้แล้ว

มาตรา ๘๕  การไล่ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้
(๑) ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
(๒) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓) ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
(๔) เปิดเผยความลับของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๕) ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๖) ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นอาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๗) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๘) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

มาตรา ๘๖  การปลดออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกไล่ออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน

มาตรา ๘๗  การให้ออกนั้น ก.อ. จะมีมติให้ลงโทษได้เมื่อข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออก หรือถึงขนาดที่จะต้องถูกปลดออกแต่มีเหตุอันควรลดหย่อน
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ

มาตรา ๘๘  ข้าราชการอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาจะเสนอ ก.อ. เพื่อมีมติลงโทษงดการเลื่อนตำแหน่งหรืองดเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือน เป็นเวลาไม่เกินสามปีหรือลงโทษภาคทัณฑ์โดยจะให้ทำทัณฑ์บนไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อ ก.อ. พิจารณาเห็นสมควรลงโทษสถานใด ก็ให้ประธาน ก.อ. สั่งตามมตินั้น
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
การเสนอ ก.อ. ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับถึงอัยการสูงสุดเพื่อนำเสนอ ก.อ. ต่อไป โดยให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๔ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๘๙  ในคำสั่งลงโทษ ให้แสดงว่าผู้รับโทษนั้นกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามมาตราใด

มาตรา ๙๐  ข้าราชการอัยการผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๙ หรือถูกสั่งให้พักราชการตามมาตรา ๘๐ หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของประธาน ก.อ. หรืออัยการสูงสุด ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งของประธาน ก.อ.หรืออัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี

ลักษณะ ๕
ข้าราชการธุรการ
                  

หมวด ๑
บททั่วไป
                  

มาตรา ๙๑  ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต
หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่ ก.อ. ประกาศกำหนด
(๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๕) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๑) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.อ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่กรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.อ. ในการยกเว้นดังกล่าว ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ
การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด
กรณีตามวรรคสอง ก.อ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้

มาตรา ๙๒  การพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่ง รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลนั้น จะต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวและประโยชน์ของทางราชการด้วย

หมวด ๒
การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง
                  

มาตรา ๙๓  ภายใต้บังคับมาตรา ๙๔ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการอาจทำได้โดยวิธีสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก หรือคัดเลือก  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๙๔  ในกรณีมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง สำนักงานอัยการสูงสุดจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๙๕  ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.อ. กำหนด
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.อ. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการธุรการที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้
ในกรณีที่ ก.อ. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิใด เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือ ก.อ. รับรอง

มาตรา ๙๖  การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งให้อัยการสูงสุดหรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง

มาตรา ๙๗  การโอนข้าราชการธุรการไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการตามกฎหมายอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือการโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการธุรการ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งทำความตกลงกับเจ้าสังกัด และปฏิบัติตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่ง ให้ดำรงตำแหน่งระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเท่าใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการธุรการที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมาเป็นข้าราชการธุรการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
การโอนข้าราชการการเมือง และข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้จะกระทำมิได้

มาตรา ๙๘  การบรรจุข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ หรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ กลับเข้ารับราชการ ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใดระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ กำหนด
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ข้าราชการธุรการที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการเมื่อได้บรรจุกลับเข้ารับราชการให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารหรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใดตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๙๙  การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกจากราชการ การสั่งให้ผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามออกจากราชการ การย้าย การโอน การเลื่อนตำแหน่ง การสั่งให้ประจำส่วนราชการ การเยียวยาแก้ไข หรือการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

มาตรา ๑๐๐  พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการธุรการ หรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการธุรการและสำนักงานอัยการสูงสุดต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๙๖ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ  ทั้งนี้ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ. กำหนด
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับผู้ซึ่งออกจากงานหรือออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือปฏิบัติหน้าที่ราชการ
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการธุรการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

หมวด ๓
การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดี
                  

มาตรา ๑๐๑  เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพในการดำเนินคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้มีตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ซึ่งเป็นข้าราชการธุรการที่มีความรู้และประสบการณ์ในทางกฎหมายและงานคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานอัยการในด้านการดำเนินคดีตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด
ให้เจ้าพนักงานคดีได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราที่สำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงการคลังร่วมกันกำหนด
เจ้าพนักงานคดีจะมีจำนวนเท่าใดในส่วนราชการใด ให้เป็นไปตามที่ ก.อ. กำหนดด้วยความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ
ในกรณีที่เจ้าพนักงานคดีผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานหน้าที่และความรับผิดชอบและลักษณะงานที่ปฏิบัติของเจ้าพนักงานคดี อัยการสูงสุดอาจพิจารณาให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งเจ้าพนักงานคดีได้
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานคดี ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.อ. กำหนด

หมวด ๔
วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์
                  

มาตรา ๑๐๒  นอกจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการธุรการ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ มาใช้บังคับโดยอนุโลม  ทั้งนี้ คำว่า ก.พ.ค.ให้หมายถึง ก.อ.คำว่า ก.พ.” “อ.ก.พ. กระทรวงและ อ.ก.พ. กรมให้หมายถึง อนุกรรมการที่ ก.อ. แต่งตั้งตามมาตรา ๓๑คำว่า กระทรวงให้หมายถึง สำนักงานอัยการสูงสุดและคำว่า รัฐมนตรีให้หมายถึง อัยการสูงสุด

มาตรา ๑๐๒/[๒๑]  ข้าราชการธุรการผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๒๑ วรรคห้า ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย

การรักษาจริยธรรมและจรรยา
                  

มาตรา ๑๐๓  ข้าราชการธุรการต้องถือและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณ
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานให้อัยการสูงสุดทราบและให้อัยการสูงสุดนำมาประกอบการพิจารณาในการแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือนด้วย

บทเฉพาะกาล
                  

มาตรา ๑๐๔[๒๒]  (ยกเลิก)

มาตรา ๑๐๕  ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (๓) และ (๔) ครบถ้วนแล้ว ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เพื่อประโยชน์ในการนับวาระการดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๐๖  ให้ข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นข้าราชการฝ่ายอัยการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๐๗  ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดกระทำผิดวินัยในขณะที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้แต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้ดำเนินการใดแล้ว ถ้าการสั่งและการดำเนินการนั้นได้กระทำไปโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ ถ้ากรณียังค้างระหว่างการสอบสวนก็ให้ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ แต่การพิจารณาและการสั่งลงโทษให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๐๘  ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดอยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรืออยู่ระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าข้าราชการฝ่ายอัยการผู้นั้นถูกสั่งให้พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๐๙  ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครสอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงถือคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑
ผู้ที่สอบคัดเลือกหรือทดสอบความรู้ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และบัญชีการสอบคัดเลือก หรือบัญชีทดสอบความรู้ แล้วแต่กรณี ยังมิได้ยกเลิกตามมาตรา ๕๓ วรรคสาม ให้คงมีสิทธิได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยต่อไป

มาตรา ๑๑๐  มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๗ มาใช้บังคับกับข้าราชการอัยการซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการประจำกอง หรืออัยการจังหวัดผู้ช่วยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๑๑  เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาบรรจุบุคคลซึ่งเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการและออกจากราชการไปก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเข้ารับราชการให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการ
ในกรณีที่ผู้เข้ารับราชการเป็นผู้ซึ่งออกจากราชการก่อนมีการปรับอัตราเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ปรับเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ เสียก่อน แล้วจึงปรับเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ปรับเงินเดือนของผู้ที่กลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เข้ากับอัตราหรือขั้นตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กลับเข้ารับราชการไม่ได้ให้ ก.อ. เป็นผู้พิจารณาว่าผู้นั้นสมควรได้รับการบรรจุในอัตราหรือขั้นใด

มาตรา ๑๑๒  บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการและกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแทน


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี

บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ[๒๓]

ชั้นเงินเดือน
เงินเดือน
(บาท/เดือน)
เงินประจำตำแหน่ง
(บาท/เดือน)
๘๑,๙๒๐
๕๐,๐๐๐
๘๐,๕๔๐
๔๒,๐๐๐
๗๘,๑๗๐
๔๑,๕๐๐
๗๖,๘๐๐
๔๑,๐๐๐
๗๕,๕๖๐
๗๔,๓๖๐
๔๐,๐๐๐
๓๐,๐๐๐
๗๓,๒๔๐
๕๘,๓๗๐
๕๓,๒๐๐
๔๕,๘๙๐
๔๑,๔๑๐
๓๗,๑๑๐
๒๙,๐๐๐
๒๓,๓๐๐
๒๓,๓๐๐
๒๓,๓๐๐
๒๓,๓๐๐
๒๓,๓๐๐
๓๔,๒๑๐
๓๒,๐๘๐
๓๐,๐๐๐
๒๐,๐๐๐
๒๐,๐๐๐
๒๐,๐๐๐
๒๖,๓๙๐
๒๕,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ และมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น รวมทั้งบัญญัติให้มีการตรากฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ให้พนักงานอัยการดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุครบเจ็ดสิบปี ในการนี้สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว ประกอบกับสมควรนำหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโส รวมทั้งอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ มากำหนดรวมไว้ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการประเภทต่าง ๆ และเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการมีประสิทธิภาพมากขึ้น  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
                     
พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔[๒๔]

มาตรา ๒  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ บัญญัติให้ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราและไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ การปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับเพิ่มในอัตราร้อยละห้าเท่ากันทุกอัตรา  จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๕]

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๙  ข้าราชการอัยการซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสผู้ใดเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดวาระ

มาตรา ๑๐  มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการอัยการที่ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสหรือผ่านการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๑  ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ข้าราชการอัยการซึ่งมีอายุครบหกสิบห้าปีไปดำรงตำแหน่งอัยการอาวุโสเพื่อทำหน้าที่ในทางวิชาชีพพนักงานอัยการโดยไม่ดำรงตำแหน่งด้านบริหารจนกว่าจะพ้นจากราชการ  นอกจากนั้น สมควรปรับปรุงบทบาทและอำนาจหน้าที่ของอัยการอาวุโสให้เหมาะสมยิ่งขึ้น  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๒๖]

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๑๒  ให้คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.๒๕๕๓ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการอัยการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีประธาน ก.และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๘ (และ (แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้  ทั้งนี้ ต้องดำเนินการเลือกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการอัยการตามวรรคหนึ่งว่างลง และมีกรรมการอัยการเหลืออยู่ไม่พอที่จะเป็นองค์ประชุม แต่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ให้กรรมการอัยการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไปได้

มาตรา ๑๓  มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๙ ข. (แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่ผู้เคยเป็นประธาน ก.และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ก่อนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เมื่อมีการเลือกประธาน ก.และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิครั้งแรกภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๒ ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นประธาน ก.หรือกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องลาออกจากตำแหน่งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๑๔  ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๔๘ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดหลักการในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการและการได้มาซึ่งกรรมการอัยการ นอกจากนี้ มาตรา ๒๔๘ วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้พนักงานอัยการกระทำการหรือดำรงตำแหน่งใดอันอาจมีผลให้การสั่งคดีหรือการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง หรืออาจทำให้มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สมควรต้องปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการอัยการและกำหนดห้ามพนักงานอัยการกระทำการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๒๗]

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๕  ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป

มาตรา ๖  เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖ และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งข้าราชการอัยการได้รับไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมา จนถึงวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับการปรับเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการในมาตรา ๕ และให้การได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในกรณีนั้นสิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๗  ให้อัยการสูงสุดรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น โดยกำหนดให้ถือว่าเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๖ และระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งข้าราชการอัยการได้รับไปแล้วตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมาจนถึงวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับการปรับเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ และให้การได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวในกรณีนั้นสิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้






วิชพงษ์/ปรับปรุง
๑๔ กันยายน ๒๕๖๐

วิชพงษ์/เพิ่มเติม
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑

พรวิภา/เพิ่มเติม
๑๕ มกราคม ๒๕๖๒

ปริญสินีย์/ตรวจ
๑๘ มกราคม ๒๕๖๒





[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑/๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๒] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๓] มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๔] มาตรา ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๕] มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๖] มาตรา ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๗] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๘] มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๙] มาตรา ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๑๐] มาตรา ๒๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๑๑] มาตรา ๒๗ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๑๒] มาตรา ๒๗ วรรคห้า เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๑๓] มาตรา ๓๔ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๑๔] มาตรา ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๑๕] มาตรา ๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๖] มาตรา ๓๙/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๗] มาตรา ๔๐ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๑๘] มาตรา ๖๒/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๑๙] มาตรา ๖๗ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๒๐] มาตรา ๖๗ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๒๑] มาตรา ๑๐๒/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๒๒] มาตรา ๑๐๔ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
[๒๓] บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
[๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๓๒/๑๓ กันยายน ๒๕๖๐
[๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๙๗ ก/หน้า ๑๗/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
[๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนที่ ๑๑๒ ก/หน้า ๕/๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๑

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระเบียบ กอ.การลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ 2555

ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๕                    โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า  “ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ” ข้อ ๒ [ ๑]   ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓  ในระเบียบนี้ “ ข้าราชการ ”  หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ “ ก.อ. ”  หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้อ ๔  การลาทุกประเภทตามระเบียบนี้ ถ้ามีกฎหมาย ระเบียบ ก.อ. หรือมติ ก.อ. กำหนดเกี่ยวกับการลาประเภทใดไว้เป็นพิเศ...

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ : นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการภายในสำนักงานหรือการบริหารราชการทั่วไป ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ๑.ด้านการปฏิบัติการ ศึกษา รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารสำนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น /งานสนับสนุนการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ /งานบริหารทรัพยากรบุคคล /งานบริหารงบประมาณ /งานบริหารแผนปฏิบัติราชการ /งานบริหารอาคารสถานที่ และ /งานสัญญาต่างๆ เป็นต้น ปฏิบัติงานเลขานุการของผู้บริหาร เช่น การกลั่นกรองเรื่อง การจัดเตรียมเอกสารสำหรับการประชุม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหาร จัดเตรียมการประชุม บันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุม และรายงานอื่น ๆ เพื่อให้การบริหารการประชุมมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ทำเรื่องติดต่อกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด ช่วยติดตามกา...